เมนู

แต่ในทัสสเนนปหาตัพพติกะตรัสว่า สังโยชน์ 3 เหล่านี้ และ
กิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ 3 เหล่านั้น
ดังนี้. แม้ใน
ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะก็ตรัสว่า สังโยชน์ 3 เหล่านี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ใน
ฐานเดียวกันกับสังโยชน์ 3 เหล่านั้น ดังนี้ ในทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะนั้น
นั่นแหละตรัสอีกว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ 3 คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
อันพระโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ และธรรม
เหล่านี้คือ โลภะ โทสะ โมหะ ที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ 3 เหล่านั้น
เป็นสัมปยุตเหตุ อันพระโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐาน
เดียวกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ เหล่านั้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านั้นเป็น
สัมปยุตตเหตุ อันพระโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ ดังนี้.
ก็ในสัมมัปปธานวิภังค์ตรัสไว้ ในบรรดาธรรมเหล่านั้น อกุศล
ธรรมอันลามก เป็นไฉน ?
อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ แม้กิเลส
ที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า กิเลสที่ตั้ง
อยู่ในฐานเดียวกันในการประหาณมาแล้วในฐานะเหล่านี้ มีประมาณเท่านี้.

ว่าด้วยนิทเทสอัพยากตธรรม


นิทเทสแห่งอัพยากตบท มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น ท่านอาจารย์ทั้งหลาย
กล่าวว่า ลักษณะ 3 มีอนิจจลักษณะเป็นต้น บัญญัติ 3 กสิณุคฆาฏิมากาส
อัชชฏากาส อารมณ์ของอากิญจัญญายตนสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ ย่อมไม่ได้
ในติกะนี้ ดังนี้.